เมื่อช่วงเที่ยงคืนที่ผ่านมา (ตามเวลาไทย) ที่ญี่ปุ่นก็เกิดแผ่นดินไหวสะเทือนกันไปทั้งเกาะ
ตามข่าวญี่ปุ่นจะออกข่าวเป็นระดับชินโดะ (Japanese Shindo Scale)
แน่นอนว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แผ่นดินไหวบ่อยมาก เฉลี่ยแล้ว 400 ครั้งต่อวัน
อ่านไม่ผิดค่ะ 400 ครั้งต่อวัน บางครั้ง shindo เป็น 0
ตรวจจับได้เฉพาะเครื่องวัดอะไรแบบนี้
ทีนี้ก็มีประเด็นเรื่องการวัดค่าความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวญี่ปุ่นที่คนไทยยังเข้าใจผิด
เราพอทราบมาบ้างเลยนำมาแชร์กันในวันนี้
และอีกประเด็นที่คนไทยใช้หน่วย “ริกเตอร์ Richter” กันมาตลอดเนี่ย
ใช้ผิดกันมาตลอดเลยล่ะ
เราขอแชร์ความรู้ในภาษาบ้านๆ ไม่ได้วิทยาศาสตร์จ๋า เพื่อให้เข้าใจกันง่ายๆนะคะ
แผ่นดินไหวทุกครั้งจะวัด 2 ค่า นั่นคือ “วัดขนาด (Magnitude)”
และ “วัดความรุนแรง (Intensity)”
.
ส่วน “Shindo 震度” เป็นหน่วยวัดระดับความสั่นสะเทือนในแต่ละพื้นที่
ไม่ใช่ตัวเลขวัดขนาดของแผ่นดินไหว
ระดับ Shindo ใช้มากว่าร้อยปีค่ะ มีระดับตั้งแต่ 0-7
โดยเวลาฟังข่าวญี่ปุ่นส่วนมากเราจะได้ยินคำว่า Shindo กับ Magnitude เป็นหลัก
เช่น Shindo ระดับ 4 / 7.1 Magnitude เป็นต้น
.
เมื่อคืนที่เกิดแผ่นดินไหวจะรับรู้ได้ที่ระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มทำให้คนหวาดกลัว
เพราะทุกอย่างจะสั่นแรงมาก ตอนเราอยู่ที่ญี่ปุ่นเคยเจอแค่ครั้งเดียวเอง
ตกใจเลยล่ะ ต้องนั่งลงกับพื้น เพราะยืนแล้วอาจเซล้มได้
http://bousai.tenki.jp/bousai/earthquake/detail-20131026021102.html
.
.
ส่วน “ริกเตอร์” ที่คนไทยใช้เรียกกันมาโดยตลอด
จริงๆแล้วมันคือ “ชื่อมาตราวัด” ไม่ใช่ “หน่วยวัด”
ดังนั้นที่ถูกต้อง ควรจะใช้เป็น “Magnitide…”
หรือถ้าจะใช้ ก็ต้องเรียกว่า ” ตาม Richter Scale”
เช่น เมื่อคืนเกิดแผ่นดินไหว ขนาด Magnitude 7.1 (หรือจะตัดคำว่า แมกนิจูดออกไปเลย)
ที่ญี่ปุ่นส่วนมากจะย่อเป็น ขนาด M7.1 แบบนี้ค่ะ
.
.
ก็เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับญี่ปุ่นแบบทันเหตุการณ์มาอัพเดทให้ฟังค่ะ
ส่วนเราตอนอยู่ญี่ปุ่นเพื่อนๆในหอพักก็ขำกันตลอด เพราะถ้าเกิดแผ่นดินไหวหนัก
ตอนกลางคืนทีไร ทุกคนจะลงมารวมตัวกันที่ชั้นล่าง หัวหน้านศ.ต่างชาติ
ก็จะเช็คสมาชิก และทุกครั้งคิราริจะไม่อยู่ หลับสบายอยู่คนเดียว =o=”
ไม่รู้เรื่องเลยอ่ะ เดือนหน้าจะต้องไปผจญภัยคนเดียว อย่าไหวเลยนะจ้ะ
รอบนี้ไม่มีคนวิ่งมาปลุกด้วย…….lol
Categories: Diary